สมุนไพรไทย กับประโยชน์ของกระชาย


โพสต์เมื่อ: 24 พ.ค 2563 เวลา 22:25:54 น. อ่าน: 1,898 ครั้ง
สมุนไพรไทย กับประโยชน์ของกระชาย

กระชาย มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกันคือ กระชายดำ กระชายเหลือง และกระชายแดง หากไม่ใช่รุ่นคุณแม่แล้วล่ะก็ “กระชาย” ก็นับว่าเป็นพืชสมุนไพรไทยที่ชนรุ่นหลังมักจะไม่ค่อยรู้จักกันล่ะค่ะ เพราะเราห่างจากการเข้าครัว เพราะเราเป็นสายกิน แม่ทำอะไรมาก็รับได้หม๊ดดดด แต่ไม่ค่อยจะอยากรู้ว่าส่วนประกอบแต่ละจานนั้นคืออะไรบ้าง บางจานรสชาติเผ็ดร้อน ก็อาจจะมาจากเครื่องเทศและสมุนไพรไทยหลายชนิด และหนึ่งในนั้นคือกระชายนี่ล่ะค่ะ ซึ่งบางทีเราเห็นเราก็เขี่ยเพราะไม่ชอบความเผ็ดร้อนของมัน แต่ก่อนจะเขี่ยเรามาดูสรรพคุณของกระชายกันก่อนค่ะว่าเยอะแยะมากมายขนาดนี้แล้วยังจะเขี่ยลงอยู่อีกมั๊ย ในที่นี้ขอเล่าเรื่องของกระชายเหลืองค่ะ เพราะมีความสำคัญและสรรพคุณเยอะกว่าใครเพื่อน

1.) ข้อนี้สำคัญมากเรียกว่าขึ้นชื่อลือชาไปสี่คุ้งน้ำค่ะ เพราะกระชายมีคุณสมบัติคล้ายโสมเกาหลีที่ช่วยบำรุงกำลังทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า และยังช่วยกระตุ้นความเป็นชายอีกด้วย

2.) มีฤทธิ์เป็นยาถอนพิษ สามารถช่วยให้หายจากอาการอาหารเป็นพิษ ลำไส้อักเสบ และโรคบิด

3.) ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร กระตุ้นระบบขับถ่ายและเป็นยาระบายอ่อนๆ ใครที่รับประทานอาหารเช่น ขนมจันน้ำยาป่า น้ำยาลาว เข้าไปแล้วปวดหนักขึ้นมา นั่นล่ะค่ะความสามารถของกระชายล่ะ

4.) เนื่องจากกระชายมีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยลดหรือต้านการกลายพันธ์ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งดังนั้นการรับประทานกระชายเป็นประจำจึงช่วยต้านและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้

5.) ในส่วนของเหง้าของกระชายมีรสขม มีความเผ็ดร้อน ตรงส่วนนี้จะมีสรรพคุณในการช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ โดยสามารถนำมาต้อมหรือปรุงในอาหารก็ช่วยได้เช่นกันค่ะ

6.) ช่วยแก้อาการท้องร่วงท้องเดิน โรคกระเพาะ โดยใช้ส่วนของเหง้า หรือรากจะได้ผลดีมาก

7.) เป็นยาช่วยขับปัสสาวะ ช่วยแก้อาการปัสสาวะขัด ช่วยในเรื่องของอาการกระเพาะปัสสาวะเกร็ง

8.) ในผู้หญิงจะช่วยบำรุงมดลูก ช่วยไม่ให้มดลูกโต ในผู้ชายจะช่วยไม่ให้ต่อมลูกหมากโต

9.) ในส่วนเหง้าของกระชายมีฤทธิ์ ช่วยในการขับระดูขาวของผู้หญิง และช่วยแก้อาการตกขาว

10.) ใช้เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ส่วนเหง้าของกระชาย โดยทานร่วมกับมะขามเปียก (นำทั้งสองอย่างมาต้มรวมกัน) รับประทานอย่างต่อเนื่อง

11.) ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง โดยใช้ส่วนของเหง้าแก่ๆ นำมาหั่นเป็นแว่น ตากแดดให้แห้งจากนั้นนำมาชงดื่มได้เลยค่ะ

12.) ช่วยลดอาการต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อรา เช่น อาการคันหนังศีรษะที่เกดจากเชื้อรา ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ขี้กลาก ขี้เกลื้อน โรคผิวหนัง โรคในช่องปาก ช่วยรักษาฝี เป็นต้น

13.) ช่วยต้านหรือป้องกันโรคต่างๆที่เกิดจาการที่มีการอักเสบภายในร่างกาย ให้ผลคล้ายๆ กับการรับประทานยาแอสไพริน

14.) ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตทั้งในส่วนของความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ ให้มีความสมดุลทั้งสองกรณี

15.) ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีขึ้น จึงมีฤทธิ์ในการช่วยบำรุงสมอง

16.) ช่วยบำรุงกระดูกให้กระดูกไม่เปราะบาง

17.) ส่วนเหง้าและรากช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง โดยนำส่วนเหง้าและรากมาต้มรับประทานสม่ำเสมอ

18.) แก้วิงเวียน แน่นหน้าอก และเป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากมีฤทธิ์ในการบำรุงธาตุต่างๆ ในร่างกาย

19.) ส่วนของใบและเหง้าเป็นส่วนที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล เป็นต้น

20.) มีงานวิจัยจากสถาบันต่างๆ ว่ากรชายมีสารหลายอย่างที่ช่วยในเรื่องของ การต้านแบคทีเรีย การช่วยต้านเชื้ออันเป็นสาเหตุของโรคมาลาเรีย และนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

นอกจากนี้ ยังสามารถนำมาทำเป็นน้ำกระชายปั่นดื่มเพื่อความสดชื่นบำรุงร่างกาย ตลอดจนช่วยในการบำรุงเส้นผมให้หนาขึ้น ดกดำขึ้น และในส่วนของรากกระชายยังสามารถนำมาตำรวมกับตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ เพื่อใช้ในการไล่แมลงได้อีกด้วย คุณประโยชน์ที่มากมายมหาศาลของกระชายเป็นอะไรที่น่าทึ่งมากๆ ใช่มั๊ยล่ะคะ เพียงหัว ราก เหง้า ใบ ก็มีฤทธิ์ในการทำงานได้มากขนาดนี้ เห็นเล็กๆ เรียกว่าจิ๋วแต่แจ๋ว คุณสมบัติมากขนาดนี้เรามาดูกันค่ะว่า กระชาย มีส่วนต่างๆ อย่างไรบ้าง

เห็นแบบนี้ ประโยชน์มากขนาดนี้ เค้าไม่ได้เกิดมามีแค่หัวเดียวโดๆ ค่ะ แต่ยังมีส่วนประกอบที่เป็นราก เป็นเหง้า และส่วนที่เป็นลำต้น เป็นใบ เป็นผล นั่นแหละจ้า แต่ประโยชน์ทั้งหมดที่ว่ามานี้มาจากส่วน ราก เหง้า และใบเป็นหลัก ส่วนของลำต้นไม่มีฤทธิ์ทางยาเท่าไหร่ เรามาดูกันค่ะว่าแต่ละส่วนมีลักษณะเป็นอย่างไร

ส่วนของเหง้า ลักษณะจะสั้นแตกหน่อได้ รากอวบยาว ปลายเรียว ผิวสีเหลืองอ่อนน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนมาใช้ในการปรุงอาหารประเภทแกงป่า ที่ต้องมีรสเป็ดร้อนค่ะ

ส่วนของใบ จะอยู่เหนือดินเพียงนิดเดียวเนื่องจากกระชายเป็นไม้ล้มลุกที่ลำต้นไม่สูงมากนัก ลักษณะของปลายใบจะมีความเรียวแหลม ใบเป็นรูปวงรี

ส่วนของดอก กระชายจะออกดอกเป็นช่อ โดยออกระหว่างกาบใบคู่ในสุด ดอกไม่ใหญ่มากขนาดประมาณ 5 เซนติเมตรเท่านั้นเองค่ะ

และนี่คือคุณประโยชน์ทั้งหมดของกระชาย พืชสมุนไพรไทยพื้นบ้านของเรานั่นเองค่ะ


ร่วมโหวตคะแนนให้เรื่องนี้ คะแนน 0.0 จาก 5 ผู้อ่าน 0 คน
HTML FOR SHARE ::
BB CODE FOR SHARE: